การทำระบบ 5 ส


การทำระบบ 5 ส 
      คือ พื้นฐานการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัย กระทั่งเป็นนิสัยในการดำรงชีวิต

ทำไมต้องทำ 5 ส

1. เก็บของไว้มากเกินความจำเป็น หาไม่เจอ เสียเวลาค้นหา ที่ทำงานแคบ
2. เอกสาร เครื่องมือ อุปกรณ์ วางปะปนกัน ไม่แยกประเภท ก่อนให้เกิดความสับสน
3. เครื่องจักร อุปกรณ์ สกปรก เสียอยู่เสมอ
4. แสงสว่าง เสียง ความร้อน สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่ปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน
5. ต่างคนต่างทิ้งสิ่งของ ไม่มีใครสนใจในเรื่องสะดวก

ผลที่ได้รับจาก 5ส

1. สถานที่ทำงานสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยช่วยให้
2. ประสิทธิภาพในการผลิตและการทำงานสูงขึ้น
3. คุณภาพของสินค้าและบริการดีขึ้น
4. ต้นทุนและการสูญเสีย ลดลง
5. ส่งมอบ สินค้าทันเวลาและบริการเร็วขึ้
6. ปลอดภัย พนังงานทำงานด้วยความปลอดภัยมากขึ้น
7. กำลังใจและทัศนคติของพนังงานดีขึ้น

5ส ประกอบไปด้วย

1. สะสาง ( Seiri เซริ ) >> แยกให้ชัดระหว่างของที่จำเป็นกับของที่ไม่จำเป็น ขจัดของที่ไม่จำเป็นทิ้งไป
2. สะดวก ( Seiton เซตง ) >> จัดสิ่งของที่ต้องการให้เป็นระเบียบ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพ
3. สะอาด ( Sriso เซโซ ) >> ทำความสะอาดสถานที่ทำงาน เครื่องจักร อุปกรณ์พร้อมทั้งตรวจเช็คและขจัดสาเหตุของความไม่สะอาดนั้น ๆ
4. สุขลักษณะ ( Seiketsu เซเกคสึ ) >> ดูแลสถานที่ทำงานและปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะเพื่อสุขอนามัยความปลอดภัยของตัวเรา และเพื่อนร่วมงาน พร้อมกับการดำเนินการ 3ส. แรก
5. สร้างนิสัย ( Shitsuke ซิสีเกะ ) >> ปฏิบัติ 4ส แรกจนเป็นนิสัยและวินัยการทำงาน

ระบบไคเซ็น ( kaizen )

การเพิ่มประสิทธิภาพในความสะดวก ความสบายในการผลิต เช่นประดิษฐ์โต๊ะ เก้าอี้ ประจุภัณฑ์ และอื่นๆ การทำไคเซ็น คือ การลดหรือเลิกขั้นตอนส่วนเกิน ส่วนที่ไม่จำเป็น ด้วยการเปลี่ยนวิธีการทำงาน เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อย ที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และต้องอาศัยการพลิกแพลงเพื่อให้หลุดพ้นจากข้อจำกัดในความเป็นจริงต่าง ๆ เช่น งบประมาณ เวลา อุปกรณ์ เทคโนโลยี ฯลฯ

1. เปลี่ยนวิธีการ เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน ลดขั้นตอนส่วนที่ไม่จำเป็นออก
2. เปลี่ยนเรื่องเล็กๆ หรือปัญหาในแต่ละวัน
3. รับมือกับความเป็นจริง ทำเรื่องที่ทำได้ก่อน รับมือกับปัญหาที่มีข้อจำกัด

แนวทางและขั้นตอนในการปรับปรุงแบบไคเซ็น

การใช้หลักการระบบ 7 ขั้นตอนเป็น วิธีการเชิงระบบ ( system approach ) หรือปรัขญาในการสร้างคุณภาพงานจองเดมมิ่ง ที่เรียกว่า PDCA ( Plan – Do – Cheek – Action ) ที่นำไปใช้หรือประยุกต์ใช้ในทุกงานทุกกิจกรรม หรือ ระบบการปฏิบัติงานนั่นเอง จะประกอบด้วย

1. ค้นหาปัญหาและกำหนดหัวข้อแก้ไข
2. วิเคราะห์ปัญหาเพื่อรู้สถานการณ์
3. หาสาเหตุ
4. กำหนดวิธีการแก้ไข
5. ใครเป็นคนทำและ ทำอย่างไร
6. ลงมือดำเนินการ
7. ตรวจดูแล และผลกระทบต่าง และการรักษาสภาพที่แก้ไขโดยกำหนดมาตรฐานการทำงาน

Popular Posts